06

Nov

2018

testimonials

“แสงสีฟ้า” ทำร้ายผิวไม่แพ้แสงแดด!

อัพโหลดเมื่อ 11.06.18

LINE it!
“แสงสีฟ้า” ทำร้ายผิวไม่แพ้แสงแดด!

แสงแดด มลภาวะ และความเครียด  เป็นสิ่งที่ทำร้ายผิวให้หมองคล้ำ เกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ จนบางทีเราก็ต้องการหลีกเลี่ยงที่จะเจอปัญหาเหล่านั้น ด้วยการไม่ออกไปข้างนอก อยู่ภายในร่ม แต่ถ้าจำเป็นจะต้องออกไปข้างนอกตอนที่มีแดดจริงๆ ก็เลือกที่จะใส่เสื้อคลุม สวมแว่น สวมหน้ากากอนามัย หรือพกร่ม ทำทุกอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหน้าและผิวกาย โดนแสงแดดหรือมลภาวะทำร้าย

 

แต่ความจริงแล้ว ภายในอาคาร และพื้นที่ร่ม ใช่ว่าจะไม่ทำให้ผิวเสีย!

ภายในอาคารที่มีแสงไฟนีออนก็สามารถทำร้ายให้ผิวเสียได้เช่นกัน เพราะในไฟนีออนมีรังสี UV แต่อาจจะไม่เท่ากับรังสี UV ในแสงแดด แต่ในระยะยาวก็สามารถส่งผลเสียต่อผิวได้เหมือนกัน ถ้าไม่มีการป้องกันผิว

 

และไม่เพียงแต่แสงจากไฟนีออนเท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อผิว เพราะเรายังต้องเจอกับ “แสงสีฟ้า” (Blue light) ที่มาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ซึ่งจากผลสำรวจใน 1 วัน เราใช้เวลาอยู่กับสิ่งเหล่านี้ไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมงหรือปัจจุบันนี้อาจจะมากกว่า 5 ชั่วโมงด้วยซ้ำ ก่อนจะบอกถึงอันตรายของแสงสีฟ้า เราต้องมาให้ความรู้ก่อนว่า เจ้าแสงสีฟ้า มันคืออะไร เพราะเชื่อว่ายังมีหลายคนที่ไม่ได้รู้จักแสงสีฟ้ามากนัก

แสงสีฟ้า (Blue light) เป็นรูปแบบของคลื่นแสงพลังงานสูง ที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่า 300 นาโนเมตร ซึ่งประสาทตาของมนุษย์สามารถสัมผัสความยาวคลื่นที่อยู่ระหว่าง 400-700 นาโนเมตรเท่านั้น ซึ่งแสงที่ผสมอยู่ในช่วงแสงสีขาวแบ่งได้เป็น 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง หรือจะนึกถึงภาพของสายรุ้งก็ได้ ซึ่งแสงสีฟ้าจะผสมอยู่ในช่วงน้ำเงินกับคราม และมีอยู่รอบๆ ตัว เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ แต่ที่พบมากที่สุด คือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ 


 

อันตรายของ “แสงสีฟ้า”

แสงสีฟ้าจะทำให้เซลล์ผิวเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ทำให้ผิวหน้าหมองคล้ำ เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ง่าย ผิวขาดความชุ่มชื้นจนทำให้เกิดสิว ฝ้า กระ และจุดด่างดำได้อีกด้วย แสงสีฟ้าไม่ได้รุนแรงเท่ารังสี UVA และ UVB แต่ว่าแสงสีฟ้าก็สามารถทะลุเข้าชั้นผิวได้ลึกถึงผิวหนังชั้นแท้ (Dermis) หรือชั้นที่มีคอลลาเจนหรืออีลาสตินอยู่ โดยเข้าไปทำลายคอลลาเจนใต้ผิว นอกจากนั้นหากมีพฤติกรรมการเล่นโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนก่อนนอน แสงสีฟ้าจะเข้าไปรบกวนฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่ช่วยให้นอนหลับ เมื่อถูกรบกวนก็จะทำให้เกิดอาการนอนหลับไม่สนิท ส่งผลเสียทางอ้อมให้กับผิวได้ด้วย

รับมือกับ “แสงสีฟ้า”

  • ติดฟิล์มกันแสงสีฟ้าบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือสมารท์โฟน และแท็บเล็ต

  • เล่นสมารท์โฟนให้น้อยลง

  • ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่สามารถช่วยปกป้องผิวจากแสงสีฟ้าได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมดบอกได้เลยว่า แสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ส่งผลให้ผิวเราหมองคล้ำ และเกิดจุดด่างดำได้ง่ายกว่าปกติ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่ออกมาบอกอย่างชัดเจนว่าจะส่งผลอันตรายร้ายแรงแค่ไหน ทางที่ดีควรป้องกันและรับมือกับแสงสีฟ้าไว้ดีกว่า

+